ประกันของเรา
บทความ
เกี่ยวกับ gettgo

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ อันตรายที่ต้องรู้ก่อนสายเกินไป

การทำงานหาเลี้ยงชีพคือสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต แต่กลับมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ตระหนักถึง “ภัยเงียบ” ที่แฝงมากับการทำงาน เพราะโรคจากการประกอบอาชีพนั้นเปรียบเสมือนศัตรูร้ายที่คอยคุกคามสุขภาพของคนทำงานอย่างไร้เสียง เป็นเสมือนการค่อย ๆ สะสมพิษวันแล้ววันเล่า จนกระทั่งเมื่อแสดงอาการออกมา ก็มักจะสายเกินกว่าที่จะเยียวยารักษาได้ทัน 

วันนี้เราจึงอยากจะพาไปรู้จักโรคจากการประกอบอาชีพ หรืออันตรายที่ซ่อนอยู่ในที่ทำงาน เพื่อที่คุณจะสามารถปกป้องสุขภาพของตัวเองได้ทันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

 

ช่างก่อสร้างมักเป็นโรคกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงาน

 

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (Occupational Disease) คืออะไร ?

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอันตราย หรือต้องสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สารเคมี ฝุ่นละออง หรือเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ โดยลักษณะสำคัญของโรคกลุ่มนี้คือ มักเกิดจากการสะสมภาวะที่เป็นอันตรายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาการมักจะแสดงออกชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง

โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Disease) มีอะไรบ้าง ?

1. โรคระบบทางเดินหายใจ

โรคที่เกิดจากการสูดดมสารพิษหรือฝุ่นละอองเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปอดหรือหลอดลม โดยอาการที่พบบ่อยคือ หายใจลำบาก ไอเรื้อรัง และหอบหืด

ตัวอย่างโรค

  • - โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) 
    ภาวะที่หลอดลมตีบแคบลงหรือถูกอุดกั้นอย่างถาวร ทำให้การหายใจติดขัด ผู้ป่วยมักมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก และไอเรื้อรัง
  • - โรคหืด 
    ภาวะที่หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติและตีบแคบลงชั่วคราว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก ไอ และมีเสียงวี้ดในหน้าอก 
  • - โรคปอดฝุ่นจับ (Pneumoconiosis) 
    ภาวะที่มีการสะสมของฝุ่นในเนื้อปอด ทำให้เนื้อเยื่อปอดแข็งตัวและเกิดพังผืด ส่งผลให้ปอดสูญเสียความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซ จนผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - คนงานก่อสร้าง 
  • - พนักงานโรงงาน 
  • - ช่างเชื่อมโลหะ

2. โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

โรคที่เกิดจากการใช้งานร่างกายไม่เหมาะสมหรือทำซ้ำเป็นเวลานาน อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปวดหลัง ปวดคอ และกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน

ตัวอย่างโรค

  • - อาการออฟฟิศซินโดรม 
    ภาวะที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ ไหล่ และหลัง มักพบร่วมกับอาการชาและล้าตามแขนหรือมือ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะและตึงที่บริเวณต้นคอ และบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือแห้งร่วมด้วย
  • - โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม 
    ภาวะที่หมอนรองกระดูกสันหลังสูญเสียความยืดหยุ่นและความสามารถในการรับแรงกระแทก ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังรุนแรง อาจร้าวไปที่ขาหรือแขน และบางรายมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย
  • - โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง 
    ภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาการปวด ตึง และมีจุดกดเจ็บ จนผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หรือเคลื่อนไหวได้จำกัด

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - พนักงานออฟฟิศ 
  • - คนขับรถ 
  • - พนักงานโรงงาน

3. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดจากความเครียดสะสม การทำงานหนักเกินไป และการพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยอาการที่พบบ่อยคือ เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก และความดันโลหิตสูง

ตัวอย่างโรค

  • - โรคความดันโลหิตสูง
    ภาวะที่ความดันในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงาน ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • - โรคหัวใจขาดเลือด 
    ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดเพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบแคบลง ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อออก และหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อมีความเครียดหรือทำงานหนัก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • - ภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ 
    มักเกิดจากการทำงานเป็นกะ หรือการทำงานไม่เป็นเวลา ส่งผลให้ร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น เวียนศีรษะ หรือหน้ามืดเป็นบางครั้ง และอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจในระยะยาว

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - ผู้บริหารระดับสูง 
  • - แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเข้าเวร 
  • - นักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

4. โรคจากการสัมผัสสารเคมี

โรคจากการสัมผัสสารเคมี เกิดจากการทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตรายต่าง ๆ ทั้งผ่านทางการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง หรือการกลืนกิน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่ ระคายเคืองผิวหนัง ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และความผิดปกติของระบบประสาท

ตัวอย่างโรค

  • - โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส 
    ภาวะที่ผิวหนังเกิดการอักเสบเมื่อสัมผัสกับสารเคมี ทำให้ผิวหนังแดง คัน เจ็บ และอาจมีตุ่มน้ำหรือผื่นขึ้น ในกรณีรุนแรงอาจทำให้ผิวหนังลอกและเกิดแผลติดเชื้อตามมา
  • - โรคพิษจากสารตะกั่ว 
    ภาวะที่เกิดจากการสะสมของตะกั่วในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และในกรณีรุนแรงอาจมีอาการชักหรือโคม่า
  • - โรคพิษจากสารปรอท 
    ภาวะที่ร่างกายได้รับพิษจากปรอท ทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการสั่น พูดติดอ่าง มีปัญหาด้านความจำ และอาจเกิดภาวะจิตสับสนในระยะยาวหากได้รับสารพิษอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - ช่างทาสีและพนักงานในอุตสาหกรรมสี 
  • - คนงานในโรงงานแบตเตอรี่ 
  • - เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเคมี

5. โรคเกี่ยวกับสายตา

โรคเกี่ยวกับสายตา มักเกิดจากการใช้สายตาเพ่งมองหรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ตาแห้ง มองเห็นไม่ชัด และปวดศีรษะ

ตัวอย่างโรค

  • - กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์วิชัน (Computer Vision Syndrome) 
    ภาวะที่เกิดจากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการตาแห้ง แสบตา มองเห็นภาพซ้อน ปวดตา และปวดศีรษะ โดยอาการมักจะรุนแรงขึ้นเมื่อใช้สายตาต่อเนื่องโดยไม่ได้พัก
  • - โรคตาแห้ง (Dry Eye Syndrome) 
    ภาวะที่ตาผลิตน้ำตาไม่เพียงพอหรือน้ำตาระเหยเร็วเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบตา คัน รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมในตา และตาแดง ซึ่งบางรายอาจมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลาด้วย
  • - ภาวะสายตาล้า (Eye Strain) 
    ภาวะที่กล้ามเนื้อตาเมื่อยล้าจากการใช้งานมากเกินไป ทำให้มีอาการปวดรอบดวงตา มองเห็นไม่ชัด ตาไวต่อแสง และปวดศีรษะ โดยอาการมักดีขึ้นหลังจากได้พักสายตาอย่างเพียงพอ

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ 
  • - นักออกแบบกราฟิก 
  • - นักพัฒนาซอฟต์แวร์

6. โรคที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมการทำงาน

โรคที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมการทำงานมักเกิดจากการทำงานในสถานที่มีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือเสียงดังเกินมาตรฐาน ซึ่งความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความเข้มข้นของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง

ตัวอย่างโรค

  • - โรคเครียดจากความร้อน (Heat Stress)
    ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และในกรณีรุนแรงอาจเกิดอาการชัก หมดสติ หรือเสียชีวิต
  • - โรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง (Noise-Induced Hearing Loss)
    ภาวะที่ประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน ทำให้ความสามารถในการได้ยินลดลงโดยเฉพาะในช่วงความถี่สูง ผู้ป่วยอาจมีอาการหูอื้อ ได้ยินเสียงในหูโดยไม่มีแหล่งกำเนิดเสียง และมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้อื่น 
  • - โรคกระจกตาสะท้อนแสง (Photokeratitis)
    ภาวะที่กระจกตาอักเสบจากการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดตารุนแรง แสบตา น้ำตาไหล กลัวแสง และมองเห็นไม่ชัด

ตัวอย่างอาชีพเสี่ยง

  • - คนงานหลอมโลหะ 
  • - พนักงานก่อสร้างที่ทำงานกลางแจ้ง 
  • - ช่างเชื่อมและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง

ช่างเชื่อมเหล็กมักเป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน

 

เตรียมพร้อมรับโรคจากการทำงานด้วยประกันสุขภาพที่ลดหย่อนภาษีได้จาก gettgo

เมื่อภัยเงียบจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพสามารถคุกคามสุขภาพของเราได้ตลอดเวลา ดังนั้น การเตรียมพร้อมรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้ปลอดภัยแล้ว การมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้น

ประกันสุขภาพ so you จาก gettgo นำเสนอแพ็กเกจที่ปรับแต่งความคุ้มครองได้ตามไลฟ์สไตล์ของคุณ ด้วยความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุด 30 ครั้งต่อปี และผู้ป่วยใน (IPD) ด้วยวงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท พร้อมคุ้มครองโรคร้ายแรงที่อาจเกิดจากการทำงาน สมัครง่ายเพียง 5 นาที โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ และที่สำคัญ เบี้ยประกันยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทำให้คุณได้รับประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและการวางแผนทางการเงินไปพร้อมกัน 

ตรวจสอบเบี้ยประกันได้ทันทีผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพผ่าน LINE OA: @gettgo หรือโทร. 02-111-7800

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัย 40. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 จาก https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Chronic-Obstructive-Pulmonary-Disease-usually-occur-age-40.
  2. 7 โรคฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/7-popular-diseases-that-threaten-workers.
  3. โรคจากการทำงาน เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/7eb69a55fce6f4112b17ac33b6f054ea.pdf.

บทความที่คุณอาจสนใจ

“ฝันร้ายของเด็กเล็ก” ไวรัส RSV ค่ารักษาสูง ประกันที่ครอบคลุมคือคำตอบ
พนักงานบริษัทกับการมี “ประกันกลุ่ม” เพียงพอหรือไม่ ?
อาการหนาวในเกิดจากอะไร ? สัญญาณเล็ก ๆ ที่อาจเตือนถึงโรคร้าย
ความคุ้มครอง ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ ประกันชั้น 2 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี ประกันชั้น 3+ ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
รถชน(ไม่มีคู่กรณี)
รถชน(มีคู่กรณี)
ค่ารักษาพยาบาล
รถยนต์สูญหาย
ไฟไหม้
น้ำท่วม

เข้าสู่ระบบ

หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ กรุณา สมัครสมาชิก

 

สมัครสมาชิก

หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา ลงชื่อเข้าใช้งาน

Loading..

กำลังดำเนินการ กรุณารอสักครู่ค่ะ 😊

ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด  (“บริษัท”)
เก็บรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าเพื่อการนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ บริการ จากบริษัท รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติจากบริษัท และ/หรือบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ และเพื่อโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้รับข้อเสนอ บริการพิเศษ โปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาอย่างเหมาะสมจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตลอดจนการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการ 

การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล 

    ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    บริษัทจะดำเนินการอย่างดีที่สุดในการรักษาความลับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คุณสามารถเลือกให้หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีผลต่อการพิจารณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เว็บไซต์ https://gettgo.com/privacy-policy
ทั้งนี้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการให้ความยินยอมได้ โดยติดต่อเราที่ email : dpo-office@mtb.co.th หรือโทร 02-693-2775 (DPO)
     การที่คุณยอมรับตามด้านล่างนี้ถือว่าคุณได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้
และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น